การพัฒนา ของ เอฟ-14 ทอมแคท

โครงการเอฟ-14 ทอมแคทนั้นเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพเรือสหรัฐตระหนักว่าปัญหาน้ำหนักและความคล่องตัวกำลังทำลายเครื่องบินมากมายของตน (อย่างเอฟ-111บี) ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกองทัพเรืออย่างมาก ทางกองทัพเรือต้องการเครื่องบินขับไล่ป้องกันกองเรือพร้อมด้วยบทบาทหลักในการเข้าสกัดกั้นเครื่องบินทิ้งระเบิดของโซเวียตก่อนที่พวกมันจะยิงขีปนาวุธเข้าใส่หมวดเรือบรรทุกเครื่องบินได้ กองทัพเรือยังต้องการให้เครื่องบินมีเอกลักษณ์เป็นเครื่องบินครองความได้เปรียบทางอากาศตามปกติ กองทัพเรือต่อต้านโครงการทีเอฟเอกซ์อย่างมากซึ่งร่วมกับความต้องการของกองทัพอากาศเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องบินโจมตีระดับต่ำ พวกเขากลัวว่าหากไม่คัดค้านจะทำให้ได้เครื่องบินที่ไม่สมบูรณ์ แต่ก็ถูกบังคับให้เข้าร่วมในโครงการจากคำสั่งโดยตรงของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมโรเบิร์ต แมคนามาร่าผู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อที่จะได้ลดค่าใช้จ่ายในโครงการพัฒนา ตัวอย่างก่อนหน้าอย่างเอฟ-4 แฟนทอม 2 ซึ่งเป็นโครงการของกองทัพเรือและกองนาวิกโยธินสหรัฐ ได้ถูกนำมาใช้โดยกองทัพอากาศ รองนายพลเรือโธมัส คอนนอลลี่ใช้การพัฒนาของเอฟ-111เอมาทดสอบและพบว่ามันในควมเร็วเหนือเสียงได้ยากและลงจอดก็ยากเช่นกัน ต่อมาเขาพิสูจน์ให้สภาคองเกรสเห็นว่าความกังวลของเขาต่อตำแหน่งของกระทรวงกองทัพเรือและในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2511 สภาคองเกรสก็ตัดงบของเอฟ-111บีทำให้กองทัพเรือสามารถซื้อความต้องการใหม่ได้

ไม่นานกองบัญชาการระบบอากาศของกองทัพเรือได้ประกาศหาข้อเสนอสำหรับเครื่องบินขับไล่สำหรับกองทัพเรือ โดยเป็นเครื่องบินสองที่นั่งเรียงพร้อมความเร็วที่ 2.2 มัคและมีความสามารถในการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด ด้วยห้าบริษัทที่ยอมรับข้อเสนอ (สี่บริษัทร่วมกันสร้างแบบที่ปีกพับได้เหมือนกับเอฟ-111) แมคดอนเนลล์ ดักลาสและกรัมแมนถูกเลือกให้เป็นสองบริษัทสุดท้ายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 และกรัมแมนก็ชนะสัญญาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 กรัมแมนนั้นเป็นผู้ร่วมงานในเอฟ-111บี และได้เริ่มงานในอีกทางเลือกเมื่อพวกเขาเห็นว่าโครงการเดิมกำลังแย่ลง การออกแบบก่อนหน้านี้ของพวกเขาถูกหารือกับนายทหารของกองทัพเรือเพื่อเป็นอีกทางเลือกของเอฟ-111บี[3]

กรัมแมนได้นำเครื่องยนต์ทีเอฟ30 ของเอฟ-111บีมาใช้อีกครั้ง แม้ว่ากองทัพเรือได้วางแผนที่จะแทนที่มันด้วยเอฟ401-พีดับบลิว-400 ที่กำลังอยู่ในการพัฒนา[4] แม้ว่าจะเบากว่าเอฟ-111บี มันก็ยังใหญ่และหนักกว่าเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศสหรัฐลำใดๆ ที่เคยบินบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ขนาดของมันมาจากการที่ต้องบรรทุกเรดาร์เอดับบลิว-9 ขนาดใหญ่และขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ นอกจากนั้นเชื้อเพลิงข้างในยังมีถึง 7,300 กิโลกรัม เอฟ-14 ยังมีช่องรับลม ปัก และอุปกรณ์ลงจอดที่เหมือนกันกับเอ-6 อินทรูเดอร์ของกรัมแมน[5]

ด้วยการที่ได้สัญญาในการสร้างเอฟ-14 กรัมแมนจึงได้ขยายโรงงานที่นิวยอร์กเพื่อเป็นที่ทดสอบและพัฒนาเครื่องบินสกัดกั้นแบบใหม่ เพื่อประหยัดเวลาและป้องกันการแทรกแซงจากกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือจึงข้ามขั้นตอนต้นแบบและมุ่งไปที่การพัฒนาเต็มรูปแบบ กองทัพอากาศก็ทำเช่นเดียวกันในเอฟ-15 ของพวกเขา[6] .

เอฟ-14 ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2513 เพียง 22 เดือนหลังจากที่กรัมแมนได้รับสัญญา และเริ่มการทดสอบความมีประสิทธิภาพในพ.ศ. 2516 กองนาวิกโยธินสหรัฐสนใจในเอฟ-14 เพื่อนำมาแทนที่เอฟ-4 แฟนทอม 2และได้ส่งนักบินและเรดาร์เพื่อทำการฝึก นาวิกโยธินไม่เคยขายเครื่องบินเต็มอัตราและถอนออกเมื่อระบบการจัดการคลังแสงสำหรับอาวุธโจมตีภาคพื้นดินถูกทิ้งให้ไม่ได้รับการพัฒนา ทำให้เครื่องบินไม่สามารถใช้อาวุธเหล่านั้นได้ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้รับการพัฒนาจนกระทั่งปีพ.ศ. 2533[6]

การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง

ขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ลูกแรกยิงโดยเอฟ-14 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2515[7] ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้นมีการยิงเพื่อทำลายเป้าหมายที่พุ่งตรงเข้ามาจากระยะ 200 กิโลเมตร นี่คือเกินระยะปกติของระบบอาวุธของเอฟ-14 ที่มีเพียง 166 กิโลเมตร อีกการทดสอบที่ไม่ธรรมดาคือในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 โดยขีปนาวุธหกลูกถูกยิงภายใน 38 วินาทีที่ความเร็ว 0.78 มัคในระดับ 24,800 ฟุต ซึ่งมีสี่ลูกที่ยิงโดนเป้า ขีปนาวุธนี้ได้เข้าประจำการในต้นปีพ.ศ. 2518 หลังจากสงครามเวียดนามจบลง

ขีปนาวุธรุ่นแรกๆ ถูกแทนที่โดยรุ่นที่ก้าวหน้ากว่า โดยเฉพาะการมาของอิเลคทรอนิกซึ่งทำให้มันเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้นและยังเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้กับเครื่องยนต์จรวด ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนเอไอเอ็ม-54เอ ฟีนิกซ์ เอไอเอ็ม-7อี-2 สแปร์โรว์ และเอไอเอ็ม-9เจ ไซด์ไวน์เดอร์มาเป็นฟีนิกซ์แบบบีและซี แบบเอฟ เอ็ม พีสำหรับสแปร์โรว์ และไซด์ไวน์เดอร์ก็เปลี่ยนเป็นแบบแอลและเอ็ม[7]

ระบบกระเปาะลาดตระเวนทางอากาศทางยุทธวิธีหรือทาร์ปส์ (Tactical Airborne Reconnaissance Pod System, TARPS) ถูกสร้างขึ้นในปลายปีพ.ศ. 2513 สำหรับทอมแคท กระเปาะทาร์ปส์จะติดตั้งอยู่ที่ด้านขวาของลำตัวส่วนท้ายและต้องมีการเชื่อมต่อเพิ่มเติม มีเอฟ-14เอประมาณ 65 ลำและเอฟ-14ดีทั้งหมดที่ถูกดัดแปลงให้ใช้กระเปาะดังกล่าว[8] ระบบนี้จะควบคุมโดยนั่งบินที่นั่งอยู่ด้านหลังเพื่อใช้มันในการลาดตระเวนหาข้อมูล[9] ระบบทาร์ปส์ถูกนำมาใช้ในปีพ.ศ. 2523[9] ทาร์ปส์ถูกพัฒนาด้วยกล้องดิจิตอลในปีพ.ศ. 2539 กล้องดิจิตอลทำการพัฒนาต่อในปีพ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อว่า"ทาร์ปส์-ซีดี"[9]

เอฟ-14เอบางลำเผชิญกับการพัฒนาเครื่องยนต์ให้เป็นจีอี เอฟ110-400 ในปี 2520 ทอมแคทที่พัฒนาเหล่านี้ถูกตั้งชื่อใหม่ว่าเอฟ-14เอ+ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นเอฟ-14บีในปีพ.ศ. 2534[10] เอฟ-14ดีถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงเวลานี้เอง มันรวมทั้งเครื่องยนต์จีอี เอฟ110-400 พร้อมกับระบบอิเลคทรอนิกอากาศดิจิตอลแบบใหม่และห้องนักบินแบบกระจก เอฟ-14ดียังได้รับระบบลิงก์ 16 เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล[11] ทอมแคทยังได้เปรียบจากระบบควบคุมการบินที่เป็นดิจิตอลหรือดีเอฟซีเอส (Digital Flight Control System, DFCS) ระบบนี้พัฒนาการควบคุมให้มีประสิทธิภาพสำหรับเครื่องบินบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ทั้งในมุมปะทะระดับสูง และในการหลบหลีก

การเพิ่มความสามารถในการโจมตีภาคพื้นดิน

ในทศวรรษที่ 1990 เมื่อเอ-6 อินทรูเดอร์ถูกปลดประจำการโครงการอากาศสู่พื้นของเอฟ-14 ก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง การทดลองครั้งแรกกับระเบิดเกิดขึ้นในปลายทศวรรษที่ 1980 อย่างไรก็ดีงานหลักของเอฟ-14 คือให้การป้องกันทางอากาศในปฏิบัติการพายุทะเลทราย ดังนั้นภารกิจโจมตีภาคพื้นดินจึงตกเป็นของเอ-7 และเอฟ/เอ-18 เพื่อให้เอฟ-14 สามารถใช้อาวุธนำวิถีได้จึงมีโครงการพัฒนาสำหรับเอฟ-14เอและเอฟ-14บีที่เหลือ การพัฒนารวมทั้งระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบดิจิตอลแบบใหม่ จอแสดงภาพในห้องนักบิน การพัฒนาด้านโครงสร้าง และระบบป้องกันภัย เครื่องบินที่พัฒนาแล้วมีอิเลคทรอนิกอากาศที่เทียบได้กับเอฟ-14ดีและถูกตั้งชื่อใหม่ว่าเอฟ-14เอ (อัพเกรด) และเอฟ-14บี (อัพเกรด) ตามลำกับ[8]

ในปี 2537 กรัมแมนและกองทัพเรือได้รับข้อเสนอสำหรับการพัฒนาทอมแคทเพื่อเติมช่องว่างระหว่างเอ-6 ที่ปลดประจำการกับเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทที่กำลังเข้าประจำการ แต่สภาคองเกรสก็ขัดขวางเอาไว้ การพัฒนานั้นมีมูลค่าพันล้านและอาจใช้เวลานาน[8] สุดท้ายทางออกคือการพัฒนาที่รวดเร็วและไม่แพงด้วยการเติมระบบการนำร่องที่ความสูงต่ำและอินฟราเรดหาเป้าตอนกลางคืนหรือเรียกสั้นๆ ว่าแลนเทิร์น (LANTIRN) ซึ่งทำให้เอฟ-14 มีกล้องอินฟราเรดด้านหน้าสำหรับตอนกลางคืนและเลเซอร์จับเป้าเพื่อชี้เป้าให้กับระเบิดนำวิถี[12]

แม้ว่าแลนเทิร์นเป็นระบบที่จะต้องมีสองกระเปาะ คือกระเปาะนำร่องเอเอ็น/เอเอคิว-13 และกระเปาะจับเป้าเอเอ็น/เอเอคิว-14 การตัดสินใจลงเอยด้วยการใช้กระเปาะจับเป้าเพียงอย่างเดียว กระเปาะจับเป้าในระบบแลนเทิร์นของเอฟ-14 มีจุดเด่นที่มีการพัฒนาเหนือแบบทั่วไป โดยเฉพาะระบบจีพีเอส-ไอเอ็นเอส (Global Positioning System / Inertial Navigation System, GPS-INS) ซึ่งทำให้เอฟ-14 รู้ตำแหน่งของตัวเองเสมอ กระเปาะถูกติดตั้งที่ใต้ปีกขวา[12]

กระติดตั้งกระเปาะแลนเทิร์นเข้าไปนั้นไม่ได้ทำให้เอฟ-14 ต้องเปลี่ยนแปลงระบบซอฟต์แวร์ใดๆ ของมัน ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและขยายการพัฒนาออกไปอีก นักบินคนที่สองหรือผู้สกัดกั้นเรดาร์จะได้รับภาพจากกระเปาะบนหน้าจอของเขาและใช้คันบังคับแบบใหม่เพื่อนำทางระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ คันบังคับแบบแรกนั้นแทนที่ระบบทาร์ปส์ แปลว่าเอฟ-14 จะไม่สามารถใช้ระบบแลนเทิร์นคู่กับระบบทาร์ปส์ได้ แต่ในที่สุดการพัฒนาก็ทำให้เอฟ-14 ใช้ได้ทั้งสองอย่าง[12] แลนเทิร์นที่ได้รับการพัฒนาถูกเรียกว่า"แลนเทิร์น 40เค"พร้อมด้วยเลเซอร์ 40เคที่ทำให้มันทำงานได้ในระดับ 40,000 ฟุตซึ่งถูกนำมาใช้ในปีพ.ศ. 2544[12]

ทอมแคทยังได้รับความสามารถใหม่ในการใช้ระเบิดจีบียู-38 หรือเจแดมในปีพ.ศ. 2546 ทำให้มันมีระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์และอาวุธนำวิถีด้วยจีพีเอสที่หลากหลาย[13] เอฟ-14ดีบางลำถูกพัฒนาในปีพ.ศ. 2548 ด้วยระบบโรเวอร์ 3 ที่ทำหน้าที่ส่งภาพจริงจากเครื่องบินไปยังแล็ปท็อปของผู้ควบคุมอากาศยานหน้าบนพื้นดิน[14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอฟ-14 ทอมแคท http://deseretnews.com/dn/view/0,1249,680195918,00... http://www.f-14association.com/stories-01.htm http://www.findarticles.com/p/articles/mi_qa3834/i... http://www.foxnews.com/story/0,2933,215219,00.html http://www.tomcatsforever.com http://oea.larc.nasa.gov/PAIS/Partners/F_14.html http://www.movic.co.jp/book/cgi-bin/search/listgen... http://www.defenselink.mil/transcripts/transcript.... http://www.history.navy.mil/planes/f14.htm http://www.news.navy.mil/search/display.asp?story_...